รีวิว The Desperate Hour
ผู้กำกับอย่าง ‘ฟิลลิป นอยซ์’ ( Phillip Noyce ) ผู้กำกับหนังสายลับ ‘ Salt ’ ( 2010 ) ที่มาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์สุดระทึก ที่ถ่ายทำด้วยโปรดักชันที่เอื้อต่อการถ่ายทำในช่วงโรคระบาด โดยที่หนังเรื่องนี้ที่เคยมีชื่อเดิมว่า ‘ Lakewood’ ยังได้มีโอกาสได้รับคัดเลือก ให้ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังโตรอนโต ( Toronto International Film Festival – TIFF ) เมื่อปีที่แล้ว ก่อนจะเปลี่ยนชื่อ ( ให้ขายได้ ) เป็น ‘The Desperate Hour’ หรือ ‘ฝ่าวิกฤต วิ่งหนีตาย’ นั่นแหละครับดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี
หัวอกของคนเป็นแม่ต้องเกิดอาการ “ เครียด” และ “วิตกกังวล” ขั้นสุด เมื่อเธอค้นพบว่าโรงเรียนของลูกชาย นั้นเกิดเหตุการณ์กราดยิงขึ้น แต่เธอจะแก้สถานการณ์อย่างไร เมื่อตัวเองนั้นอยู่กลางป่าลึก!รีวิวหนังใหม่ชนโรง
หนังแนว ๆ นี้ที่เราเคยได้เห็นล่าสุดก็น่าจะเป็น “The Guilty” ที่ เจค จิลเลนฮาลล์ แสดงเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว เรื่องนั้นก็ต้องยกความดีความชอบให้กับเจค ที่แสดงได้กัดกินใจในทุกส่วนประกอบ แต่ใน The Desperate Hour เป็นผลงานของนักสร้างหนังรุ่นเก๋า
“ฟิลลิป นอยซ์” ที่ในยุคหลังๆ ผลงานของเขาก็ค่อนข้างเป๋ไปหน่อย หนังใช้สูตรคล้ายๆ กัน แต่มีกลิ่นอายเหมือนกับเรื่อง “Buried” ของ ไรอัน เรย์โนลด์ส มากกว่า
รีวิว The Desperate Hour เรื่องย่อ
เรื่องราว ของพนักงานเจ้าหน้าที่สรรพากร ‘เอมี คาร์’ ( Naomi Watts ) และ คุณแม่ลูกสอง ที่สูญเสียสามี และ พ่อของลูกด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เกือบจะครบหนึ่งปี วันหนึ่งเอมีได้เข้าไปวิ่งจ็อกกิงออกกำลังกายในป่าลึก แต่แล้วเธอก็ได้รับแจ้งข่าวร้ายว่า เกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนที่ ‘โนอาร์’ ( Colton Gobbo ) ลูกชายคนโต และ ‘เอมิลี’ ( Sierra Maltby ) เรียนอยู่ เอมีจึงต้องออกวิ่งไปยังโรงเรียนที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ห่างออกไปไกลจากป่าหลายไมล์ เพื่อหวังจะช่วยเหลือลูก ๆ ของเธอให้พ้นจากเงื้อมมือของมือปืนที่อาจก่อเหตุได้ทุกเมื่อ โดยมีโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวที่จะช่วยให้เธอคลี่คลายเหตุสุดระทึกนี้ไปได้
ซึ่งตัวหนังตลอดเกือบ ๆ 84 นาที เราก็จะได้เห็นขุ่นแม่ ‘เอมี คาร์’ อยู่ในป่าลึกโดยที่แทบจะไม่ตัดไปซีนอื่นเลย เธอต้องพยายามวิ่งเดินทางออกจากป่าเลกวูด (Lakewood) เพื่อไปช่วยเหลือลูกชาย และมีโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวในการเอาตัวรอด รับรู้สถานการณ์ และรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโรงเรียน ตัวหนังในส่วนนี้ก็เลยจะเล่าเสมือนว่าคนดูก็กำลังอยู่ในป่าไปพร้อมกัน และค่อย ๆ ปะติดปะต่อข้อมูลชที่เอมีได้จากการพยายามโทรศัพท์ แชต และสืบค้นหาข้อมูล พร้อมกับความกดดันที่ทวีเพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์
รีวิว หลังดู
เอาจริง ๆ หนังเรื่องนี้ก็มีความคล้าย ๆ กับหนังเรื่อง ‘The Call’ (2013) ที่ใช้โทรศัพท์เป็นตัวกลางในการเอาตัวรอด จากการโดนลักพาตัวนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าหนังเรื่องนี้ใจกล้ากว่ามากที่พยายามจะเล่นกับเทคนิค ในการนำเสนอผ่านการใช้โทรศัพท์ของเอมี ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ก็จะต้องค้นหาให้ได้ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้นบ้าง และค้นหาเบาะแสเกี่ยวกับเหตุกราดยิง โดยที่แทบจะไม่ตัด ให้เห็นเหตุการณ์นอกป่า หรือเหตุการณ์ในโรงเรียนเลยแม้แต่น้อย ส่วนตัวละครอื่น ๆ ก็จะมาในรูปแบบเสียงหรือข้อความซะเป็นส่วนใหญ่
ความระทึกได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ “เอมี คารร์” (นาโอมิ วัตต์ส) กำลังวิ่งจ็อกกิงตอนเช้าในป่าลึก จู่ๆ เธอได้รับแจ้งข่าวร้ายว่าเกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยมที่ “โนอาห์” ( โคลตัน ก็อบโบ ) ลูกชายวัยรุ่นสุดที่รักของเธอเรียนอยู่ และกำลังอยู่ในอันตรายสุดๆ เธอจึงต้องออกวิ่งบนระยะทางห่างจากเมืองหลายไมล์ด้วยความวิตกกังวลขั้นสุดเพื่อช่วยเหลือลูกของเธอ โดยมีเพียงโทรศัพท์ที่แบตใกล้จะหมดเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเธอ
หนังใช้เรื่องราว ของข่าวที่มีมือปืนที่บุกเข้ายิงกราดในโรงเรียนแห่งหนึ่ง มาเป็นเส้นเรื่อง ซึ่งแน่นอนหนังต้องสร้างเหตุการณ์ที่เป็นความกดดันอย่างหนักหน่วง ให้กับตัวละครเป็นแน่แท้ และหนังก็ใช้วิธีเล่นกับความกดดันของ คนเป็นแม่ ที่ดันออกไปวิ่งอยู่คนเดียวในสถานที่เปลี่ยว มีโทรศัพท์อยู่เครื่องเดียว ติดตัวพร้อมกับอาการนอยด์ที่ติดตัว มาด้วยเรื่องของความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ไม่ได้บอกกล่าวเล่าถึงอะไรเลย
หนังพยายามจะสร้างอาการนอยด์ ให้กับตัวของ เอมี่ คาร์ ทั้งเรื่องของครอบครัว เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับลูกชาย โดยที่หนังไม่บอกอะไรสักอย่าง ทำให้คนดูงงกับอาหารนอยด์ที่ตัว เอมี่ กำลังเป็นว่าตกลงแล้ว เอมี่ นอยด์ด้วยเรื่องอะไร ก็เดาไปต่างๆ นาๆ แต่คิดว่าก็คงไม่พ้นเรื่องสามีเสียชีวิต แล้วลูกชายก็มีปัญหาอะไรประมาณนั้น ซึ่งในระหว่างที่หนังแนะนำตัวละคร เอมี่ ก็สร้างความยุ่งเหยิงด้วยสายโทรศัพท์ของคนอื่นๆ ที่พยายามโทรเข้ามาใส่ประเด็นอะไรให้ เอมี่ กลายเป็นคนนอยด์เต็มไปหมด แต่ก็ไม่ได้บอกอะไรชัดเจนว่าที่โทรมาเนี่ย มีอะไร
บรรยากาศของหนังเอาจริงๆ มันพาให้ตื่นเต้นและเครียดตามนะ เพียงแต่ว่าในระยะเวลา 84 นาที หนังมันมีแต่การวิ่งและคุยโทรศัพท์ของ เอมี่ แค่อย่างเดียว ซึ่งแรกๆ ก็เครียดตามอยู่หรอก แต่ยิ่งวิ่งนานเข้าๆ หนังมันเลยกลายเป็นความเครียด ความนอยด์ ความตื่นเต้นที่ซ้ำซากจำเจอยู่ที่เดิม ทำให้จากที่หนังดูตื่นเต้น กลายเป็นหนังน่าเบื่อและชวนง่วงนอนไปซะอย่างงั้น กลายเป็ฯสิ่งที่พยายามจะทำให้คนดูลุ้นตามไปด้วย กลับกลายเป็นคนดูลุ้นว่า เออ…เมื่อไหร่จะจบสักที
และพอตัวหนังเล่าด้วยพลังของคน ๆ เดียว ก็เลยกลายเป็นว่า ตัวหนังถูกผลักให้ต้องใช้ฝีมือการแสดงของ ‘นาโอมิ วัตส์’ (Naomi Watts) ในการแบกหนังทั้งเรื่องแต่เพียงลำพัง ซึ่งจริง ๆ เธอ (และ iPhone 1 เครื่อง) ก็ทำได้ค่อนข้างดีนะครับ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพความว้าวุ่นใจของแม่ที่มีลูกที่ตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายที่ต้องการเดินทางไปหาลูกที่อยู่ไกลออกไป และโทรศัพท์ก็คือที่พึ่งหนึ่งเดียวที่จะทำให้เธอพอจะทราบสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ทำให้หนังในครึ่งแรกเป็นหนังทริลเลอร์ที่ชวนให้ลุ้นจิกเบาะได้เลยแหละ
แต่ปัญหาที่แท้จริงกลับอยู่ที่ครึ่งหลังของหนังครับ แม้ครึ่งแรกจะดำเนินเรื่องได้อย่างสนุก ภายใต้สถานการณ์ที่เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ และสถานการณ์ทั้งในป่า และสถานการณ์ของผู้คนที่เอมีโทรไปขอความช่วยเหลือก็มีแต่จะยิ่งยุ่งยากวุ่นวายขึ้นทีละนิด แต่สิ่งที่เป็นปัญหาในช่วงครึ่งหลัง กลับมีปัญหาหลายจุดที่ซ้อนทับกันอยู่
จุดเด่นของหนังเรื่องนี้
จริง ๆ ก็ถือว่าเป็นหนังที่มีพล็อตและเข้าใจพล็อตเป็นอย่างดีนะครับ ซึ่ง ‘คริส สปาร์กลิง’ (Chris Sparling) ที่เคยเขียนบทหนังเอาตัวรอด ‘Buried’ (2010) มาก่อน สามารถวางพล็อต และเพิ่มระดับความกดดันในการเอาตัวรอดของเอมีกับโทรศัพท์หนึ่งเครื่องได้อย่างน่าสนใจ และมีวิธีการเล่าเรื่องแบบผ่อนหนักผ่อนเบา คือเรียกว่าตั้งแต่ต้นเรื่อง เราก็จะได้เห็นเอมีลงไปวิ่งในป่ากันตั้งแต่เนิ่น ๆ และค่อย ๆ ผ่อนการเล่าเรื่องให้ช้าลง สลับกับการเร่งจังหวะในช่วงเหตุการณ์ที่พีกขึ้นได้อย่างน่าติดตาม
ประเด็นแรกก็คือ ประเด็นการกราดยิงโรงเรียนที่หนังเรื่องนี้หยิบมานำเสนอครับ เอาเข้าจริง ประเด็นเรื่องการกราดยิงที่เรามักได้ยินข่าวจากต่างประเทศนี่ถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับพ่อแม่ชาวอเมริกันมากนะครับ การหยิบเรื่องใหญ่ขนาดนี้มาเล่น ต้องนำเสนอด้วยสารและเรื่องที่แข็งแกร่งและจริงจังมากพอ แต่ด้วยเทคนิควิธีการของหนังที่พยายามบีบให้คนดูเชื่อวิธีการของเอมีเท่านั้น ทำให้สารที่ปรากฏในหนัง แทนที่จะสะท้อนความน่ากลัว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุกราดยิง หรือชี้นำวิธีการเอาตัวรอดของแม่และเด็ก ฯลฯ
แต่กลับกลายเป็นว่า ตัวหนังกลับพยายามทำให้การกราดยิงกลายเป็นเพียงฉากแอ็กชันลุ้นระทึกฉากหนึ่ง และนั่นก็ทำให้เอมีเริ่มเลยเส้นออกไปแทรกแซงเหตุการณ์ที่กำลังหน้าสิ่วหน้าขวานด้วยตัวเองในองก์สุดท้ายซะอย่างนั้น กลายเป็นว่า เอมีผู้เป็นแม่ของผู้ประสบเหตุ ต้องกลายเป็นนักสืบ และก็กลายมาเป็นฮีโรไปเสียอีก และยิ่งเมื่อไปเปรียบเทียบกับตัวมือปืน ก็ยิ่งทำซ้ำภาพให้ชัดขึ้นว่า หนังต้องการเชิดชูให้เอมีกลายเป็นผู้มีมนุษยธรรมที่ต้องคอยห้ามปรามไอ้หนุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุไปเพราะไม่ได้มีเหตุจูงใจอะไรเป็นพิเศษ (เพียงเพื่อจะช่วยลูกตัวเองเท่านั้นแหละ)
ข้อมูลเกี่ยวกับหนัง The Desperate Hour ฝ่าวิกฤตวิ่งหนีตาย
ประเภท: ระทึกขวัญ
ผู้กำกับ: ฟิลลิป นอยซ์
นำแสดงโดย: นาโอมิ วัตส์
ความยาว: 84 นาที
กำหนดฉายในไทย: 10 มีนาคม 2022 (ในโรงภาพยนตร์)