รีวิว Hurts Like Hell
รีวิว Hurts Like Hell ที่มา
เรื่องราวของ ‘Hurts Like Hell’ แฝงไปด้วยประเด็นที่อยู่ใต้พรมของวงการมวยไทย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการพนันผิดกฎหมาย การติดสินบน และการล้มมวย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ ผสานเข้ากับการสัมภาษณ์แบบสารคดีให้ผู้ชมสัมผัสได้ถึงบทบาทของผู้คนในวงการ และดำดิ่งไปกับความรู้สึกเจ็บปวดเจียนตายผ่านตัวละครต่าง ๆ ภายในเรื่องดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์
รีวิว Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย ซีรีส์จาก Netflix ชำแหละมุมมืดวงการมวยไทย กับ 4 เหตุผลที่คุณควรดู สุดโหดเหมือนกระโดดขึ้นไปต่อยเองบนเวทีรีวิวหนังใหม่ชนโรง

ซีรีส์และสารคดีมวยไทยที่เจ็บที่สุดในตอนนี้ รีวิว Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย หยิบเรื่องจริงของวงการมวยไทย ในมุมที่รู้แต่ไม่เคยมีใครเล่ามาขยี้จนแหลกคานวม ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบพูดความจริง ดูความจริง และอยากได้ความจริง Hurts Like Hell เป็นซีรีส์ที่จะซัดความจริงใส่หน้าคุณได้อย่างเรียลสุด ๆ วันนี้เราจะมารีวิวซีรีส์กึ่งสารคดีเรื่องนี้ พร้อมความจริง 4 หมัดที่คุณจะโดนอัดเข้าตาไปพร้อมกับการดูซีรีส์ 4 ตอนนี้ ไปรับรู้พร้อม ๆ กันเลย

Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 2 เส้นหลัก ๆ เส้นแรกพูดถึงมวยแบบผู้ใหญ่ วงการมวยและผู้มีอิทธิพล อีกเส้นเรื่องพูดถึงการก้าวไปในเส้นทางอาชีพของนักมวยเด็ก ที่ต้องเริ่มต้นดิ้นรนและต่อสู้ฝ่าฟันทุกอุปสรรคก่อนจะได้ขึ้นสังเวียนจริง ๆ การเล่าเรื่องที่ทุกอย่างเหมือนเครือข่ายเชื่อมโยงไว้หมด ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสิ่งหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบกับอีกสิ่งในแบบที่ทำให้เราตาโตเลยทีเดียว
ในครึ่งแรกของซีรีส์จะดำเนินเรื่องแบบดิบเถื่อน สะท้อนความเป็นเรื่องราวของอำนาจที่อยู่เหนือความศักดิ์สิทธิ์ของกีฬามวย ส่วนในครึ่งหลังก็ไม่น้อยหน้า ส่วนตัวค่อนข้างรู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องราวในครึ่งหลังมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเขาเล่าถึงมุมมองของนักมวยเด็ก คนนอกอาจจะมองว่ามวยฝึกสอนให้พวกเขาหัดเป็นนักสู้แต่เด็ก เราเองก็เคยคิดว่าทำไมคนเราต้องทนเจ็บตัวด้วย เพราะรักในสิ่งที่ทำรึเปล่า หรือเพราะมีไฟ มีพลังที่จะทำ ซีรีส์เรื่องนี้ก็พอจะให้คำตอบที่คาดไม่ถึงกับเราได้
เรารู้สึกว่าเนื้อหาในอีพีแรกเหมือนเป็นการเกริ่นนำให้เรา (ที่ห่างไกลจากวงการมวยไทยมากๆ) ได้เห็นภาพรวมคร่าวๆ ของวงการมวยไทยผ่านการเล่นพนันมวย ก่อนที่จะเริ่มลงลึกในประเด็นต่างๆ ที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอในอีก 3 อีพีที่เหลือ

ความน่าสนใจของอีพีนี้คือ การที่ผู้กำกับ (กิตติชัย วรรณ์ประเสริฐ) และทีมสร้าง พาผู้ชมเข้าไปคลุกวงในของการพนันมวยไทยอย่างที่ตัวอย่างโปรโมตไว้จริงๆ เราจะได้รู้ว่าเซียนมวยที่เขาเรียกกันมีที่มาอย่างไร บุคคลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรกับวงการมวยไทย ไปจนถึงคำศัพท์หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่คนในวงการใช้กันมันหมายความว่าอย่างไรบ้าง โดยมีเรื่องสั้นเป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก ควบคู่ไปกับบทสัมภาษณ์ของเซียนมวยตัวจริง กรรมการมวย นักวิจารณ์ และเจ้าของค่ายมวย ซึ่งทำหน้าที่ให้ข้อเท็จจริงกับผู้ชมเป็นระยะ
ซึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามวงการมวยไทยแบบแนบชิดติดขอบเวทีมาก่อน ประเด็นเหล่านี้อาจจะดูลึกลับซับซ้อนเกินไปสักหน่อย แต่องค์ประกอบสำคัญที่เข้ามาเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวได้ดีมากๆ คือ พาร์ตของเรื่องสั้นที่ช่วยดึงให้เราเข้าไปอยู่ในโลกของซีรีส์ได้อย่างอยู่หมัด กับเรื่องราวการชิงไหวชิงพริบระหว่าง พัด (นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต) เซียนมวยไฟแรงที่หาญกล้าไปท้าพนันกับเซียนใหญ่มากอำนาจอย่าง คม (เอก-ธเนศ วรากุลนุเคราะห์)

สรุป
โดยจุดเด่นที่เราชื่นชอบมากๆ และอยากกล่าวถึงเป็นการส่วนตัว คืองานโปรดักชันอันโดดเด่นสะดุดตา ทั้งการสร้างบรรยากาศของสนามมวยที่เปี่ยมมนตร์ขลัง ซึ่งเสริมให้เนื้อเรื่องเข้มข้นมากขึ้นหลายเท่าตัว การจัดแสงและมุมกล้องที่ช่วยขับเน้นให้เราเห็นถึงออร่า และพลังอำนาจของตัวละครชัดเจนยิ่งขึ้น

หมัดที่ 1 ซีรีส์ที่เล่าจากเรื่องจริง
ซีรีส์เรื่อง Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย มีความยาวเพียง 4 ตอน เวลาตอนละ 40-50 นาทีโดยประมาณ เล่าเรื่องวงการมวยไทย โดยหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับการพนันมาเป็นตัวชูโรง พร้อมประโยคสุดจี๊ดตั้งแต่ในตัวอย่างว่า “การพนันเป็นหัวใจหลักในการหล่อเลี้ยงวงการมวยให้อยู่ได้”
สำหรับคนที่ไม่ดูมวยแบบเรา ก็พอรู้มาบ้างว่ากีฬาประเภทต่อสู้ มีสองฝ่ายมาปะทะกัน ย่อมต้องมีกองเชียร์ มีผู้แพ้ มีผู้ชนะ มีผู้เชียร์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ และย่อมไม่พ้นต้องมีการพนันกันว่าฝ่ายใดจะชนะ มวยไทยซึ่งเป็นกีฬา หรือจะเรียกว่าการแข่งขันต่อสู้ก็ได้ ย่อมต้องมีการพนันระหว่างผู้ชมอยู่แล้ว ถ้าแค่ลองทายเล่น ๆ ว่าใครจะชนะก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก แต่หากมีการพนันที่จริงจังถึงขั้นวางเงินหรือล้มมวยอีกฝ่ายก็คงน่าขมวดคิ้วขึ้นมาไม่น้อย
Hurts Like Hell เรื่องนี้ก็ทำให้เราคิ้วขมวดขึ้นมาจริง ๆ ด้วยการหยิบยกเรื่องเล่าที่มีฐานมาจากเรื่องจริงในมุมมืดของวงการมวยไทยมาเล่าให้คนดูฟัง เรื่องที่ไม่ได้ขาวสะอาด มีความช้ำในเหมือนนักมวยที่ขึ้นต่อยมาหลายเวที ยิ่งทำเป็นเรื่องกึ่งสารคดี ทุกอย่างก็ยิ่งดูจริงจนต้องร้อง “อื้อหืม” กันไปเลยทีเดียว

หมัดที่ 2 อินเนอร์นักแสดงที่เข้าถึงตัวละครทุกแม่ไม้การแสดง
นักแสดงแต่ละคนบอกเลยว่าเข้าถึงบทบาทกันสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็น ณัฏฐ์ กิจจริต เป็น พัด เซียนมวย, วิทยา ปานศรีงาม เป็น วิรัตน์ กรรมการเวทีมวย, นพชัย ชัยนาม เป็น ต้อย ครูและเจ้าของค่ายมวย, ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ เป็น คม เซียนมวยรุ่นใหญ่
เรื่องนี้ยังมีนักแสดงเด็กที่เป็นนักมวยตัวจริง อย่างน้องภู ภูริภัทร พูลสุข มาร่วมแสดงเป็น วิเชียร นักมวยเด็ก อีกด้วย ส่วนตัวประทับใจ ณัฏฐ์ กิจจริต มาก รู้สึกว่าการแสดงของเขามันทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละคร ด้วยความสมจริงในอารมณ์ บทพูดดูเข้าปาก แสดงได้อย่างไม่เคอะเขิน ยกนิ้วให้เลย
หมัดที่ 3 ภาพ เสียง แสง โหด ไม่มีแผ่วสักยก
เดี๋ยวนี้ซีรีส์จะขายเนื้อเรื่องดีอย่างเดียวคงไม่ได้ ภาพ ดนตรีประกอบก็ต้องพาคนดูเข้าไปอยู่ในเรื่องให้ได้ จะเร้าใจเร้าอารมณ์ หรือระทึกก็ว่ากันไป โดย Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย เป็นซีรีส์ที่ฝ่าด่านนี้ไปได้ ภาพที่ใช้เล่าเรื่องเป็นตัวช่วยส่งอารมณ์ในแต่ละฉากได้ดีเอาเรื่อง เหมือนยกของจริงมาให้ดูกันจริง ๆ
หมัดที่ 4 พูดน้อยต่อยหนัก
แม้จะมาเพียงแค่ 4 ตอนสั้น ๆ แต่ตลอด 4 EP 4 ยกที่ออกมาให้ได้รับชม รับรองว่าเข้มข้นไม่แพ้การแข่งขันต่อยมวยบนเวทีมวยจริง ๆ แน่นอน ความว้าวอีกอย่างหนึ่งสำหรับเรา คือการสัมภาษณ์คนคุ้นหน้าในวงการมวยบ้านเรา
ถ้าจะเปรียบ Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย เป็นนักมวยคนหนึ่งก็คงเป็นนักมวยเจนเวทีที่รู้ลึกทุกอย่าง วาดหมัดมวยใส่แม่นทุกจุด แถมต่อยไม่ยั้งและไม่มีกั๊กวิชา แต่ตอนจบก็ปล่อยทิ้งไว้ให้เราไปคิดต่อเองว่าตอนนี้น็อกหมัดไปแล้วหรือยัง เอาเป็นว่าถ้าใครไม่ชอบดูมวย แต่อยากรู้เรื่องของสังเวียนมวย ซีรีส์เรื่องนี้จะพาคุณไปพบความเรียลสุด ๆ ได้สมความตั้งใจของคุณแน่นอน
Hurts Like Hell เจ็บเจียนตาย ลิมิเต็ดซีรีส์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเบื้องหลังวงการมวยไทย ผ่านเรื่องราวจากปากของเหล่า “ตัวจริง” ในวงการมวย อาทิ นักมวย เซียนมวย นักพากย์ นักวิจารณ์ โปรโมเตอร์ เทรนเนอร์ เจ้าของค่ายมวย และ แพทย์สนามมวย ควบคู่ไปกับเนื้อเรื่องในส่วนซีรีส์ที่สะท้อนภาพของมวยไทยจากมุมมองของแต่ละบทบาท มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังเวียนไปกับเหล่านักแสดงชื่อดังมากฝีมือ อาทิ นัท – ณัฏฐ์ กิจจริต, ปู – วิทยา ปานศรีงาม, ปีเตอร์ – นพชัย ชัยนาม, เอก – ธเนศ วรากุลนุเคราะห์, ต๊อก – ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ และ ภู – ภูริภัทร พูลสุข กำกับโดย กิตติชัย วรรณ์ประเสริฐ ควบคุมการสร้างโดย ภัทนะ จันทร์เจริญสุข